ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มาตรา 70(2) ให้รัฐอุดหนุนและส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านต่าง ๆ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การผลิตผลงานวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมรวมถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณผ่านงบกลางของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่ปี 2532 ในวงเงิน 500 ล้านบาท และต่อมาในปี 2540 ได้จัดตั้ง กองทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้นอีก ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารวมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เข้าด้วยกันโดยใช้ชื่อว่า “เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป ในวงเงิน 1,120 ล้าน เงินที่ได้รับคืนและรายได้จากการให้กู้ยืมเงิน รวมทั้งเงินอื่นที่ได้รับจากดำเนินงานให้สมทบเข้าเป็นกองทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่อไป ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน บริหารงานโดยคณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถันอุดมศึกษาเอกชน
1.เพื่อให้สถาบันกู้ยืมเงินเป็นส่วนสมทบ ในการจัดหา/จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาและการก่อสร้างอาคารเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถขยายการเปิดการสอนในสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
2.เพื่อให้สถาบันกู้ยืมเพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ โดยให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและ/หรือปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง
ส่งเสริม สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาสถาบันการผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่น
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองในการพัฒนาประเทศ
(1) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดสรรเงินเข้ากองทุนประเภทต่าง ๆ ครบถ้วนตามเงื่อนไขการอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(2) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นข้อมูลปีล่าสุดของสถาบันนั้น ณ วันที่พิจารณาอนุมัติเงินทุน
(3) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้เปิดสาขาวิชาที่จะส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศ (เฉพาะกรณีการกู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ประจำ)
ร้อยละ 2 ต่อปี
-กรณีกู้เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียน ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 75 ของค่าก่อสร้างแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
-กรณีกู้เพื่อสมทบในการจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 75 ของราคาอุปกรณ์การศึกษาที่จัดซื้อแต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท
ร้อยละ 1.5 ต่อปี
-กรณีกู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ประจำ โดยจัดส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและ/หรือระดับปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ให้กู้ได้เต็มจำนวน (ระดับปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 2 ปี / ระดับปริญญาเอก ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 5 ปี /ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 7 ปี)
**วงเงินที่ให้กู้ ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักทรัพย์ที่นำมาประกัน**
- ที่ดิน หรือที่ดินและอาคารของสถาบัน จำนองเป็นประกัน
- พันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งมีกำหนดเวลาชำระคืนไม่ต่ำกว่าระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเงินกู้
- หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์
- คำขอกู้
- สำเนาหนังสือแสดงการเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนสถาบันอุดมศึกษา
- ข้อเสนอโครงการ
- งบแสดงฐานะการเงินและงบรายได้ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง
- งบกระแสเงินสดของสถาบันล่วงหน้า 5 ปี
- รายละเอียดของหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันการกู้
- เอกสารอื่นตามที่คณะกรรมการร้องขอ
ให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถยื่นเอกสารขอกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ 2 รอบต่อปี ตามรายการเอกสารประกอบการขอกู้ยืมเงิน
รอบที่ 1 ของปี
เดือนกรกฎาคม – กันยายน
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยื่นเอกสารขอกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนฯ
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ความครบถ้วน และความถูกต้องของเอกสารขอกู้ยืมเงิน
- ในระหว่าง 3 เดือนนี้ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติม หรือนำกลับไปแก้ไขได้
จนกว่าเอกสารจะครบถ้วนสมบูรณ์
- ให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยื่นเอกสารขอกู้ยืมเงินได้ก่อนวันที่ 30 กันยายน ถ้าสถาบันฯ ใด
ยื่นภายหลังวันที่ 30 กันยายน จะนำเข้าพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืมในรอบถัดไป
เดือนตุลาคม – ธันวาคม
-คณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียนฯ พิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืม รอบที่ 1
รอบที่ 2 ของปี
เดือนมกราคม – มีนาคม
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยื่นเอกสารขอกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนฯ
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสารขอกู้ยืมเงิน
- ในระหว่าง 3 เดือนนี้ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติม หรือนำกลับไปแก้ไขได้ จนกว่าเอกสารจะครบถ้วนสมบูรณ์
- ให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยื่นเอกสารขอกู้ยืมเงินได้ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ถ้าสถาบันฯ ใดยื่นภายหลังวันที่ 31 มีนาคม จะนำเข้าพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืมในรอบถัดไป
เดือนเมษายน – มิถุนายน
- คณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียนพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืม รอบที่ 2
กระบวนการดำเนินงานตั้งแต่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยื่นเอกสารการขอกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน
กระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ยืมเงิน จนถึงกระบวนงานสุดท้ายที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เบิกจ่ายเงินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ขอกู้ยืมนั้น ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 60 วัน
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป