STOP
SEXUAL HARASSMENT
IN THE WORKPLACE
มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 แต่จากการดำเนินงานตามมาตรการฯ ที่ผ่านมาพบว่า มาตรการดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการไต่สวน และการคุ้มครองผู้ร้องเรียน พยาน รวมถึงผู้กล่าวหาอย่างแท้จริง และนอกจากนี้ยังพบว่าหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจบางหน่วยงานยังมีเหตุการณ์การล่วงละเมิดหรือคุกคมทางเพศในการทำงานเกิดขึ้น
คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ จึงมีมติเห็นชอบให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทบทวนและปรับปรุงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมากรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้เสนอปรับปรุงมาตรการฯ จากเดิม 7 ข้อ เป็น 12 ข้อ โดยครอบคลุมถึงการประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษร การจัดทำแนวปฏิบัติตามมาตรการฯ การให้ความรู้และสร้างความตระหนักกับบุคลากรในองค์กร การกำหนดกลไกการร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน การจัดการข้อร้องเรียนหรือร้องทุกข์ การคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เป็นพยาน และการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา จนกระทั่งเดือนมกราคม 2563 คณะกรรมการ สทพ. ได้มีมติให้เสนอมาตรการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบและประกาศใช้ต่อไป
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน่ 2563 เห็นชอบมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยมอบหมายให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน่การป้องกันและแก้ไขป้ญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.) และสร้างความเข้าใจกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รวมถึงเอกชน ในการดำเนินงานตามมาตรการอย่างถูกต้องและทั่วถึง
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป