Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ชื่นชมโครงการสร้างนวัตกรภูมิภาคและนักพัฒนาเมืองนวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดำเนินการ 7 ปี สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม กว่า 1,200 ล้านบาท

                                                                        489409C9 36EA 46F4 851F 9ACEA46A925B

           วันที่ 23 สิงหาคม 2567 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) ตรวจราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. “โครงการสร้างนวัตกรภูมิภาคและนักพัฒนาเมืองนวัตกรรม” ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) โดยมี นายชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้อำนวยการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และคณะ เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

            ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม ของ สนช. ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรม ซึ่งผลการดำเนินโครงการ 7 ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้บริหารเมือง กว่า 387 ราย โดยมีส่วนผลักดันให้เมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำนวัตกรรมและการสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมเมือง อาทิ ย่านนวัตกรรมอารีย์ ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ Ubon Art Fest และนครชัยบุรินทร์ : พื้นที่ศูนย์กลางการพัฒนาโคเนื้อคุณภาพสูง เป็นต้น รวมทั้งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและ/หรือมูลค่าทางสังคมได้สูงถึง 1,295.73 ล้านบาท คิดเป็น 47.9 เท่าของเงินลงทุน นอกจากนี้ เครือข่ายนักพัฒนาเมืองนวัตกรรมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจระดับเริ่มต้น อันเป็นองค์ประกอบสู่การสร้างเมืองและชุมชนนวัตกรรม ทั้งนี้ หน.ผตร.อว. ได้ให้ข้อเสนอแนะโครงการในประเด็นการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ซึ่ง สนช. อาจเปิดกว้างเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เข้าร่วมอบรมที่ประสงค์จะศึกษาดูงานต่างประเทศได้นอกเหนือจากพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด​ ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

                                                                        32801

                                                                       NIA รูปหมู่

                                                                  ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. หนุนศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้สังกัด อว. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาหรับ

                                                                            2D306AC8 99C4 417E 86FE 98A024CDD48F

          วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) เป็นประธานการประชุมการตรวจราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. ในโครงการยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรและวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเครื่องสำอางฮาลาลสู่ตลาดใหม่มุสลิมตะวันออกกลาง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล นางสาวเปี่ยมปีติ ช่างสาร ผู้อำนวยการสำนักบริหารแผนและการงบประมาณ ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และหัวหน้าโครงการฯ พร้อมคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3B  ชั้น 3 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว. โยธี)

          ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จของโครงการ ทั้งในส่วนของการบ่มเพาะผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรฮาลาล การเจรจาการค้าเจาะตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council หรือ GCC) จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน ซึ่งมีความสนใจในสินค้าสุขภาพ (Wellness) จากพืชสมุนไพรไทยและมีกำลังซื้อสูง โดย หน.ผตร.อว. ตระหนักถึงบทบาทของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเป็นข้อต่อสำคัญในการยกระดับผู้ประกอบการและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน Hal-Q ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ทั้งนี้ หน.ผตร.อว. ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

          1. การจัดซื้อจัดจ้าง ผู้จัดเตรียมงาน (Organizer) ในการจัด Roadshow หรือ Business Matching ในต่างประเทศ ให้ดำเนินการจัดทำร่างของเขตของงาน (TOR) และเตรียมการในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อได้รับเงินงวด

          2. ขอให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด อว. เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อใช้ลำแสงซินโครตรอน ในการวิเคราะห์คุณสมบัติพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ฮาลาลในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีประชากรมุสลิมหนาแน่น เป็นต้น

                                                                S 5914688

                                                                     ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ชื่นชม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารจากวัตถุดิบชีวภาพ ในพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานล่าง

                                                                                                226836

          วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการระบบนิเวศและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่ด้านอุตสาหกรรมอาหารจากวัตถุดิบชีวภาพ ปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) โดยมี ศ.ทวนทอง จุฑาเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ.จิตรา สิงห์ทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและมาตรฐานการวิจัย นายสุภวัฒน์ โสวรรณี หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม หัวหน้าโครงการฯ พร้อมคณาจารย์ให้การต้อนรับ ณ อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

          ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จของโครงการ ทั้งในส่วนของการอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารชีวภาพ การให้บริการทางวิชาการ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆ เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชีวภาพ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร กระทั่งได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดอุบลราชธานี เข้าชิงรางวัลเลิศรัฐ (United Nations Public Service Award) ของสำนักงานพัฒนาระบบราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) สาขาผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี พ.ศ.2567 ทั้งนี้ หน.ผตร.อว. ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

          1. ในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ ขอให้เตรียมการในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อได้รับเงินงวดแล้ว

          2. นอกเหนือจากกลไกลของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุทยานวิทยาศาสตร์ ขอให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของ อว. เช่น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อาหารโซเดียมต่ำ ร่วมกับโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของ สป.อว. ในการบ่มเพาะผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร และร่วมกับกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TEDFund) ขอรับการสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ภายใต้กรอบวงเงินสนับสนุน 90% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับการอนุมัติ และไม่เกิน 2 ล้านบาท

                                                                                                226840

                                                                                                226846

                                                                                                226844

                                                                                     ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

"สุณีย์" หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ตรวจราชการโครงการกำกับดูแลความปลอดภัยในสินค้าอุปโภคที่มีวัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ

                                                                                                                    1

                         เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. (หน.ผตร.อว.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการกำกับดูแลความปลอดภัยในสินค้าอุปโภคที่มี   
วัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) โดยมี ผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล พร้อมคณาจารย์ ให้การต้อนรับ และ นายกิตติศักดิ์ ชัยสรรค์
นักฟิสิกส์รังสีชำนาญการพิเศษ ปส. พร้อมคณะ รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล จังหวัดสตูล

                                                                                                                   2

                         จากนั้น หน.ผตร.อว. และคณะได้เยี่ยมชมร้านผลิตและจำหน่ายผ้ามัดย้อมจากดินเทอราโรซ่า ณ กลุ่มปันหยาบาติก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล และเยี่ยมชมสถานที่ที่ ปส. เก็บตัวอย่างทรายดำ
ณ หาดทรายดำและสันหลังมังกร ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

                         ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้ให้กำลังใจและชื่นชมทีมนักวิจัยที่มุ่งมั่นตั้งใจดำเนินงาน พร้อมนี้ได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวปลอดภัย โดยให้มีการตรวจสอบสารกัมมันตรังสีในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว

                                                                                                                   3

                                                                                                                   4

 

ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

More Articles ...

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)