วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ความยากจนเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชนบท โดยปกติ รัฐบาลและประชาชนทั่วไปมักมองปัญหาดวามยากจนในเชิงเศรษฐกิจ คือ พิจารณาที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล ว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการคำรงชีพตามมาตรฐานขั้นต่ำ เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาคแคลนรายได้เช่นนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาก็มักจะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน แต่แนวคิดสมัยใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนจะมีกรอบการวิเคราะห์กว้างมากขึ้น โดยธนาคารโลกได้ใช้หลักใหม่ว่าความยากจนมิได้จำกัดอยู่ที่เรื่องรายได้น้อยและบริโภคน้อยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องการขาดโอกาสด้านอื่น โดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึงปัจจัยการผลิต บริการพื้นฐาน การศึกษา การพัฒนาตนเอง และการมีส่วนร่วม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริมาก่อนที่ธนาดารโลกหรือสถาบันวิชาการ อื่นๆ จะนำมาศึกษาเป็นเวลานานแล้ว โดยพระองค์ท่านทรงมีพระราชประสงค์จะช่วยให้ราษฎรพัฒนาจนสามารถพึ่งตนเองได้มาโดยตลอด ตามแนวพระราชดำริ ดังนี้
....การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้น ในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วย ให้เข้าใจด้วยว่า เขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไรเพียงใด อีกประการหนึ่ง ในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขา เพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป...".
(พระราชดำรัส ในพิธีเปีดการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๕
ณ ห้องประชุมศาลาสันติธรรม วันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒)
การพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ อาจใช้ผู้นำในหมู่บ้านที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้ชักนำช่วยกันสร้างสรรค์ความเจริญให้กับหมู่บ้านโดยเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ ไปก่อน ทั้งนี้ ทรงใช้คำว่า "การระเบิดจากข้างใน" หมายความว่า ทำให้ชุมซนแข็งแรงก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก สิ่งที่พระองค์ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำให้ชุมชนแข็งแรง คือ การที่ประชาชนรู้จักรวมตัวกันในรูปของกลุ่มเพื่อไปสู่รูปของสหกรณ์เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนหรือเพื่อทำมาหากินร่วมกัน แนวพระราชดำริดังกล่าว ทำให้เกิดโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎรโดยเน้น "หลักการพึ่งตนเอง" ในลักษณะต่างๆ มากมาย ดังเช่น โครงการธนาคารข้าว โครงการธนาคารโค-กระบือ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร การพัฒนาที่ดิน โครงการเหล่านี้มีจุดประสงค์หลักคือ ให้ราษฎรสามารถ "อยู่ได้" หรือสามารถ "พึ่งตนเองได้" นั่นเอง
การที่จะบรรลุเป้าหมายเพื่อการพึ่งตนเองนั้น จำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญต่อปัญหาพื้นฐานคือ เรื่องเกี่ยวกับปัจจัยสี่ ได้แก่ต้องมีอาหารการกินที่มีคุณภาพมีเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามสุขอนามัย การระวังรักษาสุขภาพร่างกายของประชาชนให้พ้นจากโรคภัยที่คอยเบียดเบียน ทั้งนี้ ทรงเห็นว่าการพัฒนาต่างๆ จะได้ผลนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยการที่มี "กำลังคน กำลังใจ" ที่ดี เพื่อให้สามารถต่อสู้ฝ่าฟันกับปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น และมีความเข้มแข็งที่จะพัฒนาเพื่อตนเอง และประเทศชาติต่อไป
ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย