U2T for BCG มรภ.ภูเก็ตโชว์ข้อมูล TCD หาดท้ายเหมือง หาดที่ยาวที่สุดของไทย เป็นที่ว่างไข่ของเต่าตนุ และ เต่ามะเฟือง
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินโครงการ U2T for BCG โดยมีคุณอรอนงค์ อุทัชกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ โดยตำบลท้ายเหมือง ถือเป็นตำบลที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมากมาย โดยจากการสำรวจข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ตำบลท้ายเหมือง มีหาดท้ายเหมือง ซึ่งเป็นหาดที่ยาวที่สุดของประเทศ จะพบการวางไข่ของมีเต่าตนุ เต่ามะเฟือง เป็นประจำทุกปี เป็นต้น
จากนั้น นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินโครงการ U2T for BCG โดยมีนายเฉลิมพล เกิดทรัพย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศรีสุนทร ผศ.หิรัญ ประสารการ อธิการบดี มรภ.ภูเก็ต พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ โดยตำบลศรีสุนทร ได้ดำเนินการโครงการต่อเนื่องจากโครงการ U2T ระยะที่ 1 ที่มีการนำจุดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน มาต่อยอดด้วยแนวคิด BCG โดยใช้ชื่อว่า “พาเหวนกับเณรพอน” เส้นทางการท่องเที่ยววิถี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ภูเก็ต(บ้านพระยาวิชิต เส้นทางเรือสําเภาในอดีต) บ้านควายไทย ตัวละล้าน กิจกรรมที่เน้นสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยวและรับผิดชอบต่อสังคมโดยการจัดการภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบ Low carbon นอกจากนี้ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารพื้นบ้านในรูปแบบ “อั้วจ๋าน ปิ่นโต catering” โดยเป็นบริการจัดเลี้ยงอาหารชุมชน อาทิ น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง ผักลวก แกงไก่บ้านมะพร้าวคั่ว ปลาถ้ำ ด้วยปิ่นโต (อั้วจ๋าน) เพื่อรองรับองค์กร หน่วยงาน หรือสถานประกอบการที่มีการจัดประชุมหรือนิทรรศการ โดยให้ความสําคัญสุขภาพ กับการเรียนรู้วิถีชุมชน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสและการแข่งขัน
สำหรับการดำเนินการโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้เข้ามาช่วยในการยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงหรือพริกแกง และกาละแม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นของชุมชน โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมถึงออกแบบ packaging ที่มีความโดดเด่นและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน รวมถึงมีการอบรมการขาย และสร้างช่องทางจัดจำหน่ายในวงกว้างมากขึ้น
ที่มา : กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3729
Call Center โทร.1313
E-mail : pr@mhesi.go.th
Social Media
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป