หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันกองทัพต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการป้องกันประเทศจากต่างประเทศ เพื่อภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการจัดหาและซ่อมบำรุงสูง สป.อว. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนานักวิจัยของประเทศ
จึงมีความร่วมมือกับกองทัพบกเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนายุทโธปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตรงตามโจทย์วิจัยของกองทัพบก
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
ให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีระดับผลิตภาพ
ที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ทั้งนี้รูปแบบการบูรณาการความร่วมมือ สป.อว.ให้การสนับสนุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในรูปของตัวเงิน (in-cash)
และกองทัพบกสนับสนุนโครงการในรูปของส่วนสนับสนุนอื่น (in kind) ได้แก่ การกำหนดความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัย
ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงกับความต้องการของกองทัพบกการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายยุทธภัณฑ์ สถานที่ในการทดสอบยุทโธปกรณ์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อให้กองทัพบกในฐานะผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้รับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการของกองทัพบก
3. เพื่อการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยทดแทนและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ
ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ผลผลิตที่ได้รับและเกิดขึ้นจริง (Output)
ปีงบประมาณ 2558 จัดสรรทุน จำนวน 14 โครงการ
ปีงบประมาณ 2559 จัดสรรทุน จำนวน 18 โครงการ
ปีงบประมาณ 2560 จัดสรรทุน จำนวน 21 โครงการ
ปีงบประมาณ 2561 จัดสรรทุน จำนวน 22 โครงการ
ปีงบประมาณ 2562 จัดสรรทุน จำนวน 19 โครงการ
ปีงบประมาณ 2563 จัดสรรทุน จำนวน 19 โครงการ
ปีงบประมาณ 2565 จัดสรรทุน จำนวน 14 โครงการ
รวม จำนวน 127 โครงการ
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (Outcome) 1. ผลงานวิจัยที่ผ่านการประเมินผลโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.)
และนำไปสู่การผลิต/ใช้ประโยชน์ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
1) โครงการการพัฒนาการออกแบบและผลิตชุดแหวนยางกันซึมที่ใช้ในปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 34 GH N-45 A 1 ขนาด 155 มม.
ของ ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการผลิตและใช้งานในระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (โครงการปี 58)
2) โครงการการเพิ่มสมรรถนะของระบบสื่อสารแบบควบรวมด้วยเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมหลายระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางทหารของ
รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 58)
3) โครงการการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ : กรณีศึกษาของปืนใหญ่เบากระสุนวิธีโค้ง ปบค. 95 ขนาด 105 มิลลิเมตร
แบบเอ็ม 101 เอ 1 (ปรับปรุง) ของ ผศ.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 59)
4) โครงการการวิจัยและพัฒนายุทธภัณฑ์ชิ้นส่วนซ่อมเพื่อการดำรงสภาพของระบบปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตร ของรถถังรุ่น M48A5
และรุ่น M60A1/A3 ของ ผศ.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 60)
2. ผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาระดับคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านหลักการ กองทัพบก (คกล.ทบ.) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1) โครงการฐานข้อมูลภูมิประเทศเพื่อสถานการณ์ฝึกกรมรบพิเศษที่ 5 ของ ผศ.ดร.อรประภา ภุมมะ กาญจนะ โรแบร์ สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากร
ใช้ประโยชน์โดยกรมรบพิเศษที่ 5 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อไป (โครงการปี 58)
2) โครงการการพัฒนาระบบอำนวยการยิงปืนใหญ่ทางยุทธวิธีด้วยการติดต่อสื่อสารวิทยุทางทหารแบบดิจิตอลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไร เงินงอก สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (โครงการปี 60)
ในส่วนของปีงบประมาณ 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามประเมินผลโครงการ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง (Impact)
โครงการการพัฒนาการออกแบบและผลิตชุดแหวนยางกันซึมที่ใช้ในปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 34 GH N-45 A 1 ขนาด 155 มม.
ของ ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขยายผลสู่สายการผลิต จะช่วยทดแทนยุทธภัณฑ์ที่ไม่สามารถจัดหาได้
ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบตามขั้นตอนและมาตรฐานที่ยอมรับของกองทัพบก
และสามารถใช้กับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งฯ ที่ประจำการในกองทัพบก จำนวน 285 กระบอก
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป