วันที่ 7 มีนาคม 2562 เวลา 9.30-12.30 น. ณ ห้องโถงชั้น1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเสวนาเรื่อง “เรียนรู้และรับมือกับ PM 2.5 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้าร่วมงานแถลงข่าว อีกทั้งถ่ายทอดสดผ่านทางเฟสบุ๊คเพจ STKC
โดยงานเสวนาในครั้งนี้มี รศ.ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา กรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ดาเนินรายการ พร้อมด้วยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ ดร. สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดร.วรล อินทะสันตา ผู้อํานวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนเฉพาะทางและนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง และได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร. สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง แนวทางเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและรับมือกับ PM 2.5 นําไปสู่การดําเนินงานที่เป็นรูปธรรม
รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง เรื่อง มาตรการเศรษฐศาสตร์กับมลพิษฝุ่น โดย ผลกระทบเชิงลบภายนอก ได้แก่ ผลกระทบระยะสั้น ทําให้เกิดการระคายเคือง ภูมิแพ้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และผลกระทบระยะยาว ทาให้เกิดโรคหลอดเลือด โรคปอด มะเร็ง ซึ่งปี 2016 ทาให้คนเสียชีวิตมากถึง 4.2 ล้านคน จึงส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ กระทบท่องเที่ยวลดลง โดยจะมีต้นทุนความเสียหายของมลพิษทางอากาศเกิดขึ้น ซึ่งผลประโยชน์จากการลดฝุ่น ได้แก่ ประหยัดต้นทุนผลกระทบสุขภาพกายและใจของพลเมืองที่ดีขึ้นและผลประโยชน์พลอยได้ต่อการลดโลกร้อน อีกทั้งยังกล่าวถึงการปรับตัว การบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5, การบังคับกำกับดูแล แหล่งปล่อยมลพิษ, การปรับและสร้างระบบขนส่งที่ปลอดฝุ่นและมาตรการด้านราคา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ดร.วรล อินทะสันตา ผู้อานวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนเฉพาะทางและนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง กล่าวถึง นาโนเทคโนโลยีสาหรับการจัดการปัญหา PM 2.5 และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ วิธีการทดสอบและมาตรฐานของเทคโนโลยี รวมทั้งแผนการดาเนินงานในปัจจุบันและอนาคต
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป