ปัจจุบันนี้ สมาร์ทโฟนหลายๆค่าย เริ่มหันมาใช้งานเทคโนโลยีที่พัฒนาให้มีการตอบสนองเหมือนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการแปลภาษา การแจ้งเตือน ปลดล็อคหน้าจอด้วยใบหน้า (FaceID) หรือการพูดคุยโต้ตอบสอบถามข้อมูล รวมถึง การถ่ายภาพเซลฟี่ (Selfie) บนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีระบบปรับแต่งใบหน้า ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเวลานี้
Photo credit: kisspng.com
เทคโนโลยีที่พัฒนาเหมือนมนุษย์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเราเรียกกันว่า AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence (อาร์ตทิฟิคอล อินทอลนิจิน) หรือปัญญาประดิษฐ์ โดยมีนิยามดังนี้
นิยามของ AI
นิยามของปัญญาประดิษฐ์ มีมากมายหลากหลายอย่าง ซึ่งสามารถมองได้ใน 2 คุณลักษณะ คือ
ปัจจุบันงานวิจัยหลักๆของ AI จะมีแนวคิดในรูปแบบที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำ AI ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์ หรือ ความรู้สึกของมนุษย์
นิยามของปัญญาประดิษฐ์ ทั้ง 2 ลักษณะจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ในมุมมอง 2 ลักษณะ ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ และ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่ จะขอยกตัวอย่าง หุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ที่ใส่เทคโนโลยี AI เข้าไปทำให้สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์ เช่น
Photo credit: http://www.lgblogger.com/lg-ces2017/
Photo credit: https://www.sansiri.com
อธิบายโดยสรุป ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ก็คือ วิทยาการด้านปัญญาที่จะมาช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์, หรือจะใส่ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์ช่วยจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การคิด การกระทำ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การปรับตัว การแก้ปัญหา รวมไปถึงการเลือกแนวทางการดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์ นั้นเอง
อ้างอิง
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
Comments powered by CComment