Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่
  • “...การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก แล้วเลือกสรรส่วนที่สำคัญเป็นประโยชน์   นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลือง...”
  • "...วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญของบ้านเมือง. เราจึงควรสนับสนุนให้มีการค้นคิดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาวะและความต้องการของประเทศขึ้นใช้เองอย่างจริงจัง. ถ้าเราสามารถค้นคิดได้มากเท่าไร ก็จะเป็นการประหยัด และช่วยให้สามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นเท่านั้น..."

    พระราชดำรัส พระราชทานเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และครบรอบ ๑๒๐ ปี หว้ากอ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • "...เทคโนโลยี นั้น โดยหลักการ คือ การทำให้สิ่ง ที่มีอยู่ให้เกิด เป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบูรณ์ จึงควรจะ สร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความ เสียหายที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด..."

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๒
  • "...เทคโนโลยีที่ดี ที่สมบูณ์แบบ จึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้แต่สิ่งที่เป็นของเสียเป็นของเหลือทิ้งแล้ว ก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีแปรสภาพให้เป็นของใช้ได้ เช่น ใช้ทำขยะและมูลสัตว์ให้เป็นแก๊สและปุ๋ยเป็นต้น โดยทางตรงข้ามเทคโนโลยีใดที่ใช้การได้ไม่คุ้มค่า ก่อให้เกิความสูญเปล่าและความเสียหายได้มาก จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่บกพร่อง ไม่สมควรจะนำมาใช้ไม่ว่าในกรณีใด..."

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๒
  • “...การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก แล้วเลือกสรรส่วนที่สำคัญเป็นประโยชน์ นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลือง...”

    พระบรมราโชวาท ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดงานพระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์ ๒๖ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๖

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

จากปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนชาวไทยที่ขาดแคลนนํ้าในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้พระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ดำเนินการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวง และในวันที่ 19 ตุลาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงอำนวยการ สาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีและทรงพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงตามเป้าหมายได้อย่าง แม่นยำท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลต่างประเทศเป็นครั้งแรก..

พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

ด้วยพระปรีชาความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับ ความเป็นอยู่ของพสกนิกรชองชาวไทยให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติ คุณทั่วทิศานุทิศจากสภาพปัญหาพื้นที่ทางภาคใต้มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการ เพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถัน อันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ ก็คือ การใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็น กรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด..

พระอัจฉริยภาพ
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ตลอดระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานที่ทรงครองราชย์สมบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เป็นจำนวนมาก ด้วยพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า เพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของราษฎรทุกหนแห่ง ดังจะเห็นได้จากโครงการพระราชดําริที่มีอยู่ทั่วประเทศ

การเกษตร

ปัญหาของเกษตรกรเป็นปัญหาหลักของ ประเทศทรงใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของพระตำหนัก จิตรลดารโหฐานเป็นที่ตั้งของโครงการ ส่วนพระองค์ เพื่อจำลองความเป็นอยู่และ การประกอบอาชีพของเกษตรกร

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้หลักการแก้ปัญหาตามวิถีธรรมชาติและ ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น อันเป็นทุน และความเข้มแข็งของชุมชน.

การพัฒนาคุณภาพชีวิต

"ระเบิดจากข้างใน" ทรงมุ่งสร้างให้ชุมชน เข้มแข็งก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก ทรงเน้น "หลักการพึ่งตนเอง" ราษฎรสามารถ "อยู่ได้" และ "พึ่งตนเองได้".

การพัฒนาพลังงาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะทุ่มเทศึกษาวิจัยการใช้ พลังงานเหมาะสม ในประเทศ มาพัฒนาเพื่อ ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ.

พัฒนาการเรียนรู้

การพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ประชาชนต้องมีการศึกษาที่เหมาะสม ทั้งเด็ก เยาวชน ตลอดจนผู้ใหญ่ในวัยทำงาน และวัยชรา กล่าวคือ ต้องการการศึกษาตลอดชีวิต.

การพัฒนาสารสนเทศและการสื่อสาร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ประโยชน์ เพื่อสนับสนุนพระกรณียกิจด้านต่างๆ ในการพัฒนาประเทศโดยตลอด.

วีดีทัศน์เฉลิมพระเกียรติ

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"

โครงการตามแนวพระราชดําริ "แกล้งดิน"

โครงการ "แหลมผักเบี้ย" ปรับน้ำเสียเป็นน้ำใส

กังหันน้ำชัยพัฒนา

พืชจากพระราชดำริ

กิจกรรมแห่งความจงรักภักดี

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)