Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility)

1.หลักการและเหตุผล

ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
พ.ศ.2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนนโยบายรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม ตลอดจนการดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้ามาร่วมทํางานและส่งเสริมผู้มีความสามารถสูงในการสนับสนุนธุรกิจชั้นนํา
ในประเทศที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เรื่อง นโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility)
โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวตกรรม (สป.อว.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา
มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในสังกัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยการเคลื่อนย้ายบุคลากรไปช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถให้กับภาคอุตสาหกรรม
อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และในทางกลับกัน จะเป็นหน่วยงานที่ประสานการนำบุคลากรวิจัยในภาคอุตสาหกรรม
ที่มีความรู้และความสามารถ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถให้กับนักศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับแนวทางการดำเนินการ สป.อว. จะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ผ่านกลไกการสนับสนุนทุน
สำหรับการทำวิจัยที่ตอบสนองต่อโจทย์ความต้องการในการแก้ไขปัญหา การพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D)
ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการสนับสนุนศูนย์บริหารจัดการและหน่วยประสานงาน Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญ
ในการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนดึงดูดบุคลากรวิจัยในภาคอุตสาหกรรมที่มีความรู้และความสามารถเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
การจัดอบรมและพัฒนาบุคลากร โดยจะเน้นในเรื่องของการพัฒนากำลังคน ทั้งในส่วนของบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา และบุคลากรวิจัยในภาคอุตสาหกรรม
เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและประเทศได้

โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ จะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ที่สามารถแก้ไขปัญหา
และพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประเทศไทยจะเกิดศูนย์บริหารจัดการและหน่วยประสานงาน Talent Mobility
ที่กระจายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ให้เป็นกลไกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิจัย ระหว่างบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาและบุคลากรวิจัยในภาคอุตสาหกรรม
เป็นศูนย์รวมของข้อมูล องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและประเทศ
เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมและประเทศต่อไป

 Slide2

2. วัตถุประสงค์

     1) เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ผ่านกลไกการสนับสนุนทุนวิจัย
         เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม

     2) เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาและศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหา
         และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม

     3) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของศูนย์อำนวยความสะดวก (TM Clearing House) ในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนพัฒนากลไกที่เกี่ยวข้อง
         เพื่อให้การดำเนินการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. เป้าหมายโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของประเทศ

     1) มีจำนวนบุคลากรที่เคลื่อนย้ายไปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา
และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่า 250 คน ต่อปี ซึ่งการออกไปปฏิบัติงานจะช่วยให้สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม
ได้รับประโยชน์จากบุคลากรที่เคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงาน ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
ในทางกลับกัน บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา สามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปปฏิบัติงานจริง มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
การปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้บัณฑิตที่จะเข้ามาในระบบการศึกษามีความรู้และทักษะที่ตรงต่อความต้องการของสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม 

     2) เกิดศูนย์อำนวยความสะดวก (TM Clearing House) ในสถาบันอุดมศึกษา อย่างน้อย 2๐ แห่ง ที่มีศักยภาพในการการสำรวจโจทย์ความต้องการ
และจับคู่ความต้องการ (matching) ระหว่างนักวิจัยกับสถานประกอบการ ให้คำปรึกษา แนะนำ พัฒนาข้อเสนอโครงการ และการเจรจาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์
และทรัพย์สินทางปัญญาในเบื้องต้นให้แก่นักวิจัยและผู้ประกอบการ ตลอดจนประสานงานระหว่างนักวิจัย ผู้ประกอบการ แหล่งทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ติดตามผลการปฏิบัติงานของนักวิจัยและผลการดำเนินการโครงการ จัดทำกรณีศึกษา และถอดบทเรียนการดำเนินการของโครงการที่ผ่านการคัดเลือก
และการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรรวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา
ภายใต้การดำเนินกิจกรรม Talent Mobility

Slide3

 

โครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศ

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกองทัพต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการป้องกันประเทศจากต่างประเทศ เพื่อภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการจัดหาและซ่อมบำรุงสูง  สป.อว. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนานักวิจัยของประเทศ
จึงมีความร่วมมือกับกองทัพบกเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนายุทโธปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตรงตามโจทย์วิจัยของกองทัพบก
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
ให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีระดับผลิตภาพ
ที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ทั้งนี้รูปแบบการบูรณาการความร่วมมือ สป.อว.ให้การสนับสนุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในรูปของตัวเงิน (in-cash)
และกองทัพบกสนับสนุนโครงการในรูปของส่วนสนับสนุนอื่น (in kind) ได้แก่ การกำหนดความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัย
ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงกับความต้องการของกองทัพบกการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายยุทธภัณฑ์ สถานที่ในการทดสอบยุทโธปกรณ์

 

Military RD 03

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2. เพื่อให้กองทัพบกในฐานะผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้รับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการของกองทัพบก

3. เพื่อการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยทดแทนและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ
    ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

 

ผลผลิตที่ได้รับและเกิดขึ้นจริง (Output) 

ปีงบประมาณ 2558 จัดสรรทุน จำนวน 14 โครงการ

ปีงบประมาณ 2559 จัดสรรทุน จำนวน 18 โครงการ

ปีงบประมาณ 2560 จัดสรรทุน จำนวน 21 โครงการ

ปีงบประมาณ 2561 จัดสรรทุน จำนวน 22 โครงการ

ปีงบประมาณ 2562 จัดสรรทุน จำนวน 19 โครงการ

ปีงบประมาณ 2563 จัดสรรทุน จำนวน 19 โครงการ

ปีงบประมาณ 2565 จัดสรรทุน จำนวน 14 โครงการ

รวม จำนวน 127 โครงการ

Military RD 01

Military RD 02

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 

1. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (Outcome) 1. ผลงานวิจัยที่ผ่านการประเมินผลโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.)
และนำไปสู่การผลิต/ใช้ประโยชน์ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 

1) โครงการการพัฒนาการออกแบบและผลิตชุดแหวนยางกันซึมที่ใช้ในปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 34 GH N-45 A 1 ขนาด  155 มม.
ของ ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการผลิตและใช้งานในระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (โครงการปี 58)

2) โครงการการเพิ่มสมรรถนะของระบบสื่อสารแบบควบรวมด้วยเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมหลายระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางทหารของ
รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 58)

3) โครงการการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ : กรณีศึกษาของปืนใหญ่เบากระสุนวิธีโค้ง ปบค. 95 ขนาด 105 มิลลิเมตร
แบบเอ็ม 101  เอ 1  (ปรับปรุง)  ของ  ผศ.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 59)

4) โครงการการวิจัยและพัฒนายุทธภัณฑ์ชิ้นส่วนซ่อมเพื่อการดำรงสภาพของระบบปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตร ของรถถังรุ่น M48A5
และรุ่น M60A1/A3 ของ ผศ.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โครงการปี 60)

2. ผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาระดับคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านหลักการ กองทัพบก (คกล.ทบ.) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 

1) โครงการฐานข้อมูลภูมิประเทศเพื่อสถานการณ์ฝึกกรมรบพิเศษที่ 5 ของ ผศ.ดร.อรประภา ภุมมะ กาญจนะ โรแบร์ สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากร
ใช้ประโยชน์โดยกรมรบพิเศษที่ 5 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อไป (โครงการปี 58)

2) โครงการการพัฒนาระบบอำนวยการยิงปืนใหญ่ทางยุทธวิธีด้วยการติดต่อสื่อสารวิทยุทางทหารแบบดิจิตอลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไร เงินงอก สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (โครงการปี 60)

     ในส่วนของปีงบประมาณ 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามประเมินผลโครงการ

 

 Military RD 06

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง (Impact) 

โครงการการพัฒนาการออกแบบและผลิตชุดแหวนยางกันซึมที่ใช้ในปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 34 GH N-45 A 1 ขนาด  155 มม.
ของ ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขยายผลสู่สายการผลิต จะช่วยทดแทนยุทธภัณฑ์ที่ไม่สามารถจัดหาได้
ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบตามขั้นตอนและมาตรฐานที่ยอมรับของกองทัพบก
และสามารถใช้กับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งฯ ที่ประจำการในกองทัพบก จำนวน 285 กระบอก

โครงการยกระดับสมรรถนะกำลังคนวัยแรงงานเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill)

1. หลักการและเหตุผล

          การเตรียมคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงอายุจึงเป็นภารกิจหลักของ อว. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกำลังคนในประเทศ จะเน้นการเสริม เพิ่ม และพัฒนาทักษะในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญของอนาคต กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นฐานของประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้เร็วหลังจากวิกฤตการณ์ COVID-19 เพื่อเป็นพื้นที่เปิดในการเชื่อมความต้องการด้านกำลังคนของภาคเอกชน ผู้จ้างงาน และโยงการพัฒนาทักษะความรู้ที่เป็นที่ต้องการจากภาคการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในการนำเสนอหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อเสริมทักษะใหม่และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ หรือ Reskill / Upskill / New skill ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการทำงานได้อย่างแท้จริง   

2. วัตถุประสงค์

    1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/ Reskill) ภายในสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐาน

    2) เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานของประเทศไทยให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

    3) เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบ Modular Education และ/หรือ Modular Curriculum และแพลตฟอร์ม การเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill)

    4) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบ Modular Education และ/หรือ Modular Curriculum และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill)

3. เป้าหมายโครงการ              
    1) เชิงปริมาณ ได้แก่

       1.1) แพลตฟอร์มการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบ Modular Education และหรือ Modular Curriculum ไปสู่การพัฒนาหลักสูตร Upskill/Reskill ที่เน้นด้านเทคโนโลยีเชิงลึก จำนวน 65 หลักสูตร

       1.2) คนทำงานมีความพร้อมด้านสมรรถนะทันต่อการเปลี่ยนอาชีพ Upskill/Reskill โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม 3,500 คน

       1.3) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มและการบริหารจัดการหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบ Modular Education หรือ Modular Curriculum จำนวน 5 สถาบันอุดมศึกษา

    2) เชิงคุณภาพ ได้แก่

      1.1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพร้อมด้านสมรรถนะทันต่อการเปลี่ยนอาชีพ (Upskill/Reskill) อย่างแท้จริง   

      1.2) มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแพลตฟอร์มการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบ Modular Education และหรือ Modular Curriculum และแพลตฟอร์ม การเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill)

 

Mhesi1

 

 

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษาฯ กลุ่ม อววน. 1

โทร 0 2039 5542-43

โทรสาร 0 2039 5650

โครงการประชุมสัมมนาแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค

โครงการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับประกาศ อว.
เรื่อง
แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม
หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค

หลักการและเหตุผล

ggg3ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ออกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม 2564 เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับทราบและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา หลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

จึงเห็นควรจัด โครงการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับประกาศ อว. เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาคขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและระบบการบริหารจัดการที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศ อว. เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค

2.  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบัน

3.  เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว. มีการดำเนินงานตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค และจัดระบบบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา

4.  เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล หลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค ของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการสนับสนุนให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและระบบการบริหารจัดการที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป

เป้าหมายของโครงการ จำนวนประมาณ 300 คน ซึ่งประกอบด้วย

  • ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 10 คน
  • คณะอนุกรรมการด้านธรรมาภิบาล จำนวน 14 คน
  • ผู้บริหาร กรรมการสภา และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 158 แห่ง

การประชาสัมพันธ์โครงการ

วิดิโอการประชุมสัมมนา (ยอดเข้ารับชม 5,081 ครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 9/8/65)

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดการประชุมสัมมนา
   • กล่าวรายงาน โดย นายบรรลือ วิศิษฎอนุพงษ์ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
   • กล่าวเปิดการประชุม โดย ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

09.30 – 12.00 น. การเสวนาในหัวข้อ การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดย
   1. รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล)
   2. ประธานกรรมการการอุดมศึกษา (ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์)
   3. อนุกรรมการด้านธรรมาภิบาล (ศาสตราจารย์พีระพงศ์ ทีฆสกุล)
   4. อนุกรรมการด้านธรรมาภิบาล (นายขจร จิตสุขุมมงคล)
   5. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนิติการ (นายสุทน เฉื่อยพุก)

12.00 – 12.30 น. ซักถาม/ตอบคำถาม

 

                           *******************************************

 

 

ผู้รับผิดชอบ

กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษาฯ

กลุ่มเสริมสร้างธรรมาภิบาลและระบบบริหารจัดการ

โทรศัพท์ 0 2 610 5360-62  E-Mail  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

 cover gg

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)