สิทธิประโยชน์สำหรับข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
สิทธิประโยชน์สำหรับข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กำหนดทางเลือกสำหรับวิธีรับเงิน ดังนี้
1. ขอรับเงินคืนทั้งจำนวน (เช็ค หรือ ธนาณัติ หรือ โอนเข้าบัญชี)
2. โอนเงินทั้งจำนวนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงาน
หรือการชราภาพ (สั่งจ่ายเช็คในนามกองทุน)
3. ให้ กบข. บริหารต่อ (จำนวนเงินขั้นต่ำที่ให้บริหารต่อต้องไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท โดยไม่รวมกับจำนวนเงินที่ขอรับไปบางส่วน) แบ่งตาม ดังนี้
3.1 บริหารวงเงินต่อทั้งจำนวน หรือ ขอรับเงินคืนทั้งจำนวน
3.2 ขอทยอยรับเงินเป็นงวดๆ (ไม่ต่ำกว่า 3,000 บาทต่องวด โดยสามารถเลือกเป็นรายเดือน หรือ ราย 3 เดือน หรือ ราย 6 เดือน หรือ รายปี)
3.3 ขอรับเงินบางส่วน และส่วนที่เหลือให้ กบข. บริหารต่อ (กำหนดจำนวนเงินเอง)
3.4 ขอรับเงินบางส่วน และส่วนที่เหลือขอทยอยรับเงินเป็นงวดๆ (โดยสามารถเลือกเป็นรายเดือน
หรือ ราย 3 เดือน หรือ ราย 6 เดือน หรือ รายปี)
การรับบำเหน็จ
ความหมาย
บำเหน็จ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว และไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการใดๆ
จากทางราชการอีก
วิธีการคำนวณ
** ทวีคูณ ** คือ เวลาราชการระหว่างประจำปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่ได้ประกาศใช้
กฎอัยการศึก(เวลาราชการช่วงดังกล่าว X 2)
การรับบำนาญ
ความหมาย
บำนาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และมีสิทธิได้รับสวัสดิการจากทางราชการ ประกอบด้วย
1.บำเหน็จดำรงชีพ โดยจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญ
2. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ของตนเอง คู่สมรส บิดามารดา และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีบุตรที่ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถจะต้องมีคำสั่งจากศาล (ยกเว้นบุตรปกติที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และไม่รวมถึงบุตรบุญรรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
3. สวัสดิการค่าการศึกษาบุตร เบิกได้ตั้งแต่อายุครบ 3 - 25 ปีบริบูรณ์ ศึกษาในระดับอนุบาล - ปริญญาตรี
และเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจำนวน 3 คน เรียงตามลำดับก่อนหลัง
4. เงินช่วยพิเศษกรณีผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย (เงินช่วยค่าทำศพ) โดยจ่ายให้
แก่ทายาทผู้มีสิทธิ หรือผู้ซึ่งผู้เสียชีวิตแสดงเจตนาให้ได้รับตามแบบแสดงเจตนา (แล้วแต่กรณี)
5. บำเหน็จตกทอด โดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ กรณีที่ไม่มีทายาทผู้มีสิทธิและผู้เสียชีวิตแสดงเจตนาระบุผู้ที่ต้องการให้ได้รับ และจ่ายให้แก่ผู้ซึ่งผู้เสียชีวิตแสดงเจตนาให้ได้รับตามแบบแสดงเจตนา
วิธีการคำนวณ
กรณีเป็นสมาชิก กบข.
ทั้งนี้ เงินบำนาญที่จะได้รับต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเช่นคำนวณบำนาญได้ 20,000 บาท
โดยร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคำนวณได้ 19,000 บาท จะส่งผลให้ได้รับเงินบำนาญ 19,000 บาท
** ทวีคูณ ** คือ เวลาราชการระหว่างประจำปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก
(เวลาราชการช่วงดังกล่าว X 2)
กรณีไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.
** ทวีคูณ ** คือ เวลาราชการระหว่างประจำปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก (เวลาราชการช่วงดังกล่าว X 2)
** กรณีได้รับเงินบำนาญรายเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ** จะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (เงิน ช.ค.บ.)
เพิ่มเติมเพื่อให้มีบำนาญเบี้ยหวัดบำนาญพิเศษขั้นต่ำ 10,000 บาทต่อเดือน เช่น บำนาญรายเดือน 8,000 บาท จะได้รับเงิน ช.ค.บ. 2,000 บาท รวมได้รับรายเดือน 10,000 บาท
บำเหน็จดำรงชีพ
ความหมาย
บำเหน็จดำรงชีพ คือ เงินส่วนหนึ่งของบำเหน็จตกทอดซึ่งเป็นเงินที่ทายาทจะได้รับหลังจากที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทั้งนี้ทางรัฐบาลให้สิทธิสำหรับข้าราชการบำนาญในการขอรับเงินส่วนหนึ่งก่อน โดยแบ่งจ่าย เป็น 3 ครั้ง ทั้งนี้ หากคำนวณบำเหน็จดำรงชีพแล้ว ได้เกิน 500,000 บาท จะกำหนดให้รับรวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ดังนี้
ครั้งที่ 1 ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 200,000 บาท
ครั้งที่ 2 เมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้อีกครั้งตามสิทธิแต่เมื่อรวมกันสองครั้งแล้วต้องไม่เกิน 400,000 บาท
ครั้งที่ 3 เมื่อมีอายุตั้งแต่ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้อีกครั้งตามสิทธิแต่เมื่อรวมกันสามครั้งแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
วิธีการคำนวณ
*** กรณีข้าราชการบำนาญไม่ประสงค์ใช้สิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ เงินส่วนดังกล่าวก็จะยังคงอยู่ในส่วนของบำเหน็จตกทอดที่ทายาทจะได้รับ เช่น คำนวณบำเหน็ตกทอดได้ 1,200,000 บาท จะคำนวณบำเหน็จดำรงชีพได้ 600,000 บาท แต่จะมีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท และส่วนที่เหลือ 700,000 บาท จะเป็นบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาท
โดยกรณีที่ไม่ประสงค์ใช้สิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพหรือรับไม่ครบจำนวนตามสิทธิที่มี ส่วนที่เหลือจะนำไปรวมเป็นบำเหน็จตกทอด
บำเหน็จตกทอด
ความหมาย
บำเหน็จตกทอด คือ เงินที่ทายาทจะได้รับหลังจากที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิตโดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ ประกอบด้วย
บิดามารดา 1 ส่วน คู่สมรส 1 ส่วน บุตร 2 ส่วน (ถ้ามีบุตร 3 คนขึ้นไป ได้รับ 3 ส่วน) หรือบุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในหนังสือตามแบบและวิธีการที่กำหนด(กรณีไม่มีทายาทผู้มีสิทธิเหลืออยู่) โดยผู้มีสิทธิทุกคนจะต้องดำเนินการติดต่อส่วนราชการต้นสังกัดสุดท้ายของผู้รับบำนาญหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญเพื่อขอรับเงินบำเหน็จตกทอดภายในระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทั้งนี้ หากไม่มีทายาทและไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติ
วิธีการคำนวณ
หนังสือแสดงเจตนาฯ ข้าราชการหรือผู้รับบำนาญสามารถติดต่อส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ
เพื่อขอแสดงเจตนาฯ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดได้ตามที่ต้องการและสามารถขอเปลี่ยนแปลงได้ตลอดตามที่ต้องการ
โดยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาฯ จะให้ทำการยกเลิกหนังสือแสดงเจตนาฯ ฉบับก่อนหน้าด้วย ทั้งนี้หากไม่ได้มีการยกเลิกจะดำเนินการตามเจตนาฯ ที่แสดงไว้ในหนังสือแสดงเจตนาฯ ฉบับล่าสุด
บำเหน็จค้ำประกัน คือ การกู้เงินกับสถาบันการเงิน โดยนำสิทธิบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินสำหรับ
ผู้รับบำนาญที่กู้เงินบำเหน็จค้ำประกันไปแล้วในขณะที่อายุยังไม่ถึง 65 ปี และเมื่ออายุ ครบ 65 ปี มีความประสงค์ขอรับบำเหน็จค้ำประกันในส่วนเพิ่มจะต้องดำเนินการชำระหนี้ยอดคงเหลือกับธนาคารให้เรียบร้อยก่อน จึงจะขอเบิกบำเหน็จ
ดำรงชีพ 65 ปี ได้
เงินช่วยพิเศษกรณีผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
(เงินช่วยค่าทำศพ)
ความหมาย
เงินช่วยพิเศษกรณีผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย คือ เงินจำนวนหนึ่งที่ทางราชการจ่ายให้ เพื่อให้ผู้ที่จัดการงานศพนำเงินนั้นไปจัดการงานศพหรือทำบุญตาประเพณีขอแต่ละศาสนาถือเป็นการช่วยเหลือหรือตอบแทนคุณความดีเป็นครั้งสุดท้ายจากทางราชการโดยจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิหรือทายาทผู้มีสิทธิ (แล้วแต่กรณี) ซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ในหนังสือตามแบบและวิธีการที่กำหนด กรณีไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาจะจ่ายให้กับคู่สมรส หรือบุตร หรือบิดามารดาตามลำดับ เพียงคนเดียว
วิธีการคำนวณ
หนังสือแสดงเจตนาฯ ข้าราชการหรือผู้รับบำนาญสามารถติดต่อส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ
เพื่อขอแสดงเจตนาฯ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดได้ตามที่ต้องการและสามารถขอเปลี่ยนแปลงได้ตลอดตามที่ต้องการโดยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาฯ จะให้ทำการยกเลิกหนังสือแสดงเจตนาฯฉบับก่อนหน้าด้วย ทั้งนี้หากไม่ได้มีการยกเลิกจะดำเนินการตามเจตนาฯ ที่แสดงไว้ในหนังสือแสดงเจตนาฯ ฉบับล่าสุด
ที่มา : งานสวัสดิการและปรโยชน์เกื้อกูล