Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

รายงานผลโครงการสัมมนา “ยกระดับองค์กรดิจิทัล เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้”

รายงานผลโครงการสัมมนา “ยกระดับองค์กรดิจิทัล เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้”

วันที่ ๒๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
ณ โรงแรมดีวารี จอมเทียน บีช พัทยา โรงเรียนบ้านทุ่งละหาน
และอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สทอภ. จังหวัดชลบุรี

โดย : กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล

1713341698788

ดาวน์โหลดเอกสาร รายงานผลโครงการสัมมนา “ยกระดับองค์กรดิจิทัล เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้”

แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

digital literacy framework 01

เป้าหมายของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

เพื่อให้ข้าราชการและส่วนราชการมีกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ที่จะส่งเสริมสนับสนุนการให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและในการพัฒนางานภาครัฐ และสนับสนุน “การปรับเปลี่ยนภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล”

 

digital literacy framework 02

สาระสำคัญ

1. กำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาข้าราชการ (Goal Setting) ทั้งกลุ่ม Non IT และกลุ่ม IT ในรูปของ “บทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวัง” 18 บทบาท โดยมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล

2. จำแนกกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาออกเป็น 6 กลุ่ม ตามบทบาทและลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ผู้ทำงานนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านดิจิทัล และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ

3. กำหนดกลุ่มทักษะที่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐต้องพัฒนาออกเป็น 7 กลุ่มทักษะ

4. กำหนดประเด็น (Theme) การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนา จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่

  • การพัฒนาคนเพื่อสร้างและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน
  • การสร้างและพัฒนาคนให้เท่าทันและสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานได้อย่างรอบรู้

5. วางรากฐานการพัฒนาบุคลากรภาครัฐใหม่ โดยนำแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ ดังนี้

  • กำหนดให้การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเป็นหน้าที่ของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐแต่ละคน
  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกอบรม (In class training) ลดบรรยาย เพิ่มการเรียนรู้ด้วยวิธีการอื่น โดยกำหนดสัดส่วนการบรรยาย ไม่เกินร้อยละ 60 และวิธีการอื่น (เช่น Work Shop, Discussion, Role play) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะ ให้สามารถทำได้ ทำเป็น มากกว่าการรับฟังข้อมูลความรู้ แบบเดิม

6. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการเพื่อการพัฒนา ดังนี้

  • กระทรวงดิจิทัลฯ และหน่วยงานในสังกัด รับผิดชอบการพัฒนาข้าราชการ
  • หัวหน้าส่วนราชการ (CEO) และ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำกระทรวง กรม (CIO) รับผิดชอบนำแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัล ไปดำเนินการในระดับหน่วยงาน
  • กระทรวงกรมและหน่วยงานของรัฐ ประสานการทำงานกับ สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงดิจิทัล ในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (จัดเตรียมแผนและแนวทางการพัฒนา) และให้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการพัฒนาและการประเมินบุคลากร (ปี 61 - 62 เจียดจ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการ ปี 63 - 65 จัดทำคำของบประมาณเพื่อการพัฒนาโดยตรง)
  • กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. พัฒนาการบริหารกำลังคน (HRM) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐ อาทิ การกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง การวางทางก้าวหน้าในอาชีพ การให้ค่าตอบแทน เพื่อให้ภาคราชการมีกำลังด้านดิจิทัลที่เพียงพอในการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และให้ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) จัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการศักยภาพสูง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เพื่อรองรับการจ้างบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นอัตรากำลังเสริมระยะสั้นให้แก่ส่วนราชการ
  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำรายละเอียดทักษะด้านดิจิทัล และจัดให้มีการประเมินทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ตามที่ ก.พ. กำหนด
  • สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. นำการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูง (ประเมินปลัด) และการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรา 44 มาใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลตามแนวทางนี้

 

ที่มา สำนักงาน ก.พ.

 

Digital Thailand แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

Digital Thailand Coverpage

แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วน ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ ขณะนั้น) จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแทน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของประเทศ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการ ตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาล ให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย และหลากหลายมาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ในเวทีโลก และความมั่นคงทางสังคมของประเทศต่อไป

วิสัยทัศน์

ปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์
ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) หมายถึง ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะมีเป้าหมายในภาพรวม 4 ประการ ดังต่อไปนี้
ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ จึงกาหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน 4 ระยะ ดังนี้
ภูมิทัศน์ดิจิทัลของไทยในระยะเวลา 20 ปี

Digital Thailand 01

Digital Thailand 02

เพื่อให้วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุผล แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้านคือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

 

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)