Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเกษตร “ข้าว"

King Act Page 031

     ข้าว เป็นอาหารและเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีเกษตรกรปลูกข้าว 3.7 ล้านครัวเรือนใน พ.ศ. 2551 ประเทศไทยส่งออกข้าวประมาณ 10.6 ล้านตัน ข้าวสารคิดเป็นมูลค่า 200,000 ล้านบาท นับว่าข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่นำเงินเข้าประเทศ เป็นแหล่งแรงงานที่สำคัญ เป็นฐานความมั่นคงด้านอาหาร และก่อให้เกิด มูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมแปรรูปที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิต

     โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพืชข้าวคุณภาพดีสู่เกษตรกร (ข้าวหอมชลสิทธิ์) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

      กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ กรมการข้าว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันและไม่ไวต่อช่วงแสง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน เพื่อลดระยะเวลาในการปรังปรุงพันธุ์ ทำให้ได้พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธ์ ที่ทนอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี ภายใต้สภาวะปกติ ให้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพการหุงต้มดี และมีกลิ่นหอมเหมือนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกในระดับแปลงนาแล้วหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์

ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเกษตร “พืช”

King Act Page 022

      “ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้น มีความยากลำบากอยู่ไม่ใช้น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดีและต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วย จึงจะได้ผลเป็นล้ำเป็นสัน อีกประกาศหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรจะปลูกพืชอื่น ๆ บ้างเพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป ” (พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา ในวันเดการชุมชุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ คั้งที่ 3 วันที่ศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2508)

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเพาะปลูกพืช ทั้งในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต การทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์ใหม่เพื่อสนองความต้องการของตลาด รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการจัดการระบบการเกษตร เช่นการจัดการศัตรูพืช ดินและน้ำ

      ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดเป็นงาน “ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ” และมีพระราชดำริให้จัดทำ “ พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน ” โดยนำพันธุ์ข้าวที่ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายจากรัฐบาลไปปลูกในแปลงนาบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปใช้ในพิธีพระราชมงคลในปีต่อไป และแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ที่เหลือแก่พสกนิกรเพื่อเป็นสิริมงคลสือไป

ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเกษตร

20161025

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักว่าปัญหาของเกษตรกรเป็นปัญหาหลักของประเทศ และมีความสนพระราชหฤทัยที่จะนำความรู้ทุกด้าน โดยเฉพาะในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาการเกษตรของไทย ดังพระบรมราโชวาทว่า

     “ การพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดความเจริญมั่นคงแก่คนส่วนรวมทั้งประเทศได้ แท้จริงนั้น จะต้องอาศัยหลักวิชาอันถูกต้องและต้องกระทำพร้อมกันไปทุก ๆ ด้านด้วยเพราะความเป็นไปทุกอย่างในบ้านเมือง มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงถึงกันหมด เพียงแต่จะทำงานด้านการเกษตร ซึ่งโดยหลักใหญ่ได้แก่การกสิกรรมและสัตวบาล อย่างน้อยที่สุดก็ยังต้องอาศัยวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์สหกรณ์เข้าช่วยด้วย ทุกคนซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้วิชาการในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไป ควรทราบให้ถ่องแท้ว่า ในการนั้นจำเป็นที่สุดที่จะต้องใช้วิชาการ ทำงานร่วมมือกันให้ประสานสอดคล้องทุกฝ่าย ”
      (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕ )

1666164477593

     ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทราบว่าปัญหาต่าง ๆ ของเกษตรกรนั้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากการขาดปัจจัยการผลิตเนื่องมาจากความยากจนแล้ว เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังมีการศึกษาน้อย ขาดความรู้ที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพ ซึ่งความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อเกษตรกรจะเห็นได้จากการที่ทรงได้ใช้พื้นที่ ส่วนหนึ่งในบริเวณตำหนักจิตลดารโหฐานเป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์ เพื่อจำลองความเป็นอยู่และการประกอกอาชีพของเกษตรกรมาไว้ในบริเวณที่ประทับ และทรงทดลองวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยให้ประโยชน์ตกกับประชาชนมากกว่าผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ดังพระราชดำรัสว่า

     "...การสร้างโรงนมในสวนจิตรลดาไม่ใช่สำหรับการค้า แต่สำหรับทดลองดูว่า การทำเช่นนี้จะได้ผลอย่างไร และเก็บข้อมูลเอาไว้ดังที่ได้ทำจนถึงบัดนี้ มิใช่ว่าจะทำโรงนมนี้ เพื่อที่จะให้พอความต้องการในตลาค ซึ่งไม่มีทางจะให้เพียงพอได้ เพราะว่า โรงนมในสวนจิตรลดานี้ มีความมุ่งหมายอย่างเดียวคือ ค้นคว้า ไม่ใช่การค้า..."

(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการดำเนินงานสร้างโรงนมผงที่ตำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันศุกร์ ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๑๓)

1666164524728

1666164542410

1666163722325.jpg       นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงเน้นการศึกษาทดลองและทดสอบ การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยทรงจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในแต่ละท้องที่ ซึ่งทั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตลดา และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างก็เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการเกษตรที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีการทดลองค้นคว้าใหม่เกิดขึ้นไม่หยุดนิ่ง ทำให้เป็นแหล่งการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรทั่วประเทศใช้ในการปรับปรุงการประกอบอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปในการหัดคิดสร้างและทำงานต่างๆ ที่มุ่งประโยชน์สำหรับคนหมู่มาก โดยในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการเกษตรเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อย่างเชื่อมโยงครบวงจร ตั้งแต่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดิน และสภาพอากาศ ปัจจัยด้านสังคม เช่น สิทธิการถือครองที่ดิน การรวมกลุ่ม และการตลาดไปจนถึงปัจจัยด้านความรู้ โดยเฉพาะในการผสมผสานความรู้พื้นบ้าน เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่โดยผ่านการศึกษาวิจัยโดยคนไทยตามสภาพแวคล้อมของไทย ดังนั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการเกษตรแต่ละโครงการ จึงไม่ได้เป็นเพียงตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกโครงการถือเป็นแบบอย่างให้ประชาชนรู้จักคิดแบบองค์รวม และคิคบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างแท้จริง

     "ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้น มีความยากลำบากเป็นอุปสรรคอยู่มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วย จึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรจะปลูกพืชอื่น ๆ บ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๊ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"

(พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา ในวันเปิดการชุมนุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๐๔)

ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)