“ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้น มีความยากลำบากอยู่ไม่ใช้น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดีและต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วย จึงจะได้ผลเป็นล้ำเป็นสัน อีกประกาศหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรจะปลูกพืชอื่น ๆ บ้างเพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป ” (พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา ในวันเดการชุมชุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ คั้งที่ 3 วันที่ศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2508)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเพาะปลูกพืช ทั้งในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต การทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์ใหม่เพื่อสนองความต้องการของตลาด รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการจัดการระบบการเกษตร เช่นการจัดการศัตรูพืช ดินและน้ำ
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดเป็นงาน “ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ” และมีพระราชดำริให้จัดทำ “ พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน ” โดยนำพันธุ์ข้าวที่ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายจากรัฐบาลไปปลูกในแปลงนาบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปใช้ในพิธีพระราชมงคลในปีต่อไป และแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ที่เหลือแก่พสกนิกรเพื่อเป็นสิริมงคลสือไป
ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป