พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริว่า การพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ประชาชนต้องมีการศึกษาที่เหมาะสม โดยประชาชนนั้น หมายถึง ทั้งเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนที่เป็นผู้ใหญ่ในวัยทำมาหากินและวัยชราด้วย กล่าวคือ ต้องมีการศึกษาตลอดชีพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ตระหนักว่า ปัญหาเรื่องการขาดการศึกษามีความร้ายแรงมากในเขตชนบท เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความยากจน การทำลายทรัพยากรและปัญหาความมั่นคงอื่นๆ ต่อเนื่องกัน จึงทรงช่วยเหลือประชาซนในท้องถิ่นกันดารในด้านการศึกษามาโดยตลอด เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น เรียกว่า โรงเรียนร่มเกล้า เพื่อบรรเทาความเดือคร้อนและกระจายการศึกษาให้แก่บุตรธิดาของประชาชนให้มากที่สุด การสนับสนุนการศึกษานี้ มิได้ทรงเจาะจงเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษาเท่านั้น แต่ยังทรงคำนึงถึงโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สำหรับแก้ปัญหาให้นักเรียนธรรมดาที่ประสงค์จะศึกษาต่อได้มีโอกาสเข้าเรียนได้อย่างทั่วถึงเท่าที่จะทำได้อีกด้วย
ทั้งนี้ การพัฒนาการศึกษาในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้เป็นเพียงการร่ำเรียนทางวิชาการ แต่ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง จึงทรงพระราชทานโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชนอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาลักษณะเดียวกับสมัยโบราณ ที่ผู้ต้องการหาวิชาต้องดั้นด้นไปหาพระอาจารย์ ซึ่งเป็นพระดาบสมีสำนักอยู่ในป่าแล้วฝากฝังตัวเป็นศิษย์ จึงทรงให้ตั้งโรงเรียนพระดาบส ใช้สถานที่ของสำนักพระราชวัง รับสมัครผู้เรียนไม่จำกัดเพศ วัย วุฒิ ความรู้หรือฐานะ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อเตือนสิงหาดม ๒๖๑๙ มีผู้เข้าศึกษาจำนวน ๖ คน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระดาบส มีความรู้ความสามารถประกอบอาชีพได้ ครูผู้สอนส่วนมากเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ อาสาสมัคร โดยถือว่าการสอนวิชาความรู้ให้ศิษย์เป็นวิทยาทานไม่ติดค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น โรงเรียนนี้มีองคมนตรีและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ เป็นผู้ดำเนินการวิชาที่โรงเรียนเปีดสอนครั้งแรก ได้แก่ วิซาซ่อมเครื่องไฟฟ้า วิทยุติดตั้งไฟฟ้า พร้อมกับการเรียนการสอนนี้ ผู้เรียนสามารถหารายได้ในรูปสหกรณ์ด้วย
นอกเหนือไปจากการจัดตั้งโรงเรียนแล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ คือเป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชาโดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ของแต่ละคน
พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษานั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกลัชิดกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยในทางหนึ่งทรงเน้นในมีการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปประยุกต์พัฒนาการประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิตให้เหมาะสม ในอีกทางหนึ่งทรงมีพระราชดำริให้ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการพัฒนาขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้ขาดโอกาส และเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นที่มาของการดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาทางไกล และการพัฒนาสื่อการศึกษาแบบใหม่ๆ ทำให้เกิดการนำสังคมไทยเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ได้ ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน
ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป