ผู้อำนวยการสำนักฯ
นางวนิดา บุญนาคค้า (ตุ้ม) |
นางวนิดา บุญนาคค้า (ตุ้ม) |
สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สส. ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545
สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการ ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 โดยเป็นการรวมหน่วยงาน 2 หน่วยงาน เข้าด้วยกันซึ่งได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและกองส่งเสริมเทคโนโลยี โดยทั้ง 2 หน่วยงานมีความเป็นมาและภารกิจ ดังนี้
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี (ศท.) เป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศ รวมทั้งเป็นองค์กรกลางในการประสานงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ ด้วยภารระกิจที่สำคัญในช่วงแรก คือ การเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ต่อมาในปี 2524 ศท. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประสานงานกับศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีแห่งเอเชียและแปซิฟิค (Asia and Pacific Center for Transfer for Transfer of Technology : APCTT) และดำเนินการอุดหนุนการดำเนินงานของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยและสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการอุด หนุนสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสมาคม มูลนิธิ สถาบันวิชาการและวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเข้มแข็ง ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกสาขา
นอกจากนี้ ศท. ยังรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านการลดอัตราศุลกากรเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม และดำเนินงานด้านกองทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อให้มีทุนส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อเพิ่มเติมและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการ พัฒนาประเทศปัจจุบันกองทุนดังกล่าวได้ถูกถ่ายโอนภาระกิจให้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในปี 2545
ในปี พ.ศ. 2529 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน ได้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านเทคโนโลยีขึ้น โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปถ่ายทอดให้กับชุมชนในพื้นที่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 หมู่บ้าน ใน 8 จังหวัด ซึ่ง ศท. รับผิดชอบโครงการดังกล่าวและนำกิจกรรมไปส่งเสริมและถ่ายทอด เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถนอมอาหาร การทำวัสดุก่อสร้างจากวัสดุในชนบท การทำเครื่องปั้นดินเผา การปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีและการพลังงานทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ศท.ยังได้จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการเผยแพร่การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังปรากฏเป็นเอกสารวิชาการ เรื่อง การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2534 ต่อมาในปี พ.ศ.2535 ศท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และเป็นการสร้างความตระหนักและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยจัดงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยแต่ละแห่งจะจัดงานคาบเกี่ยววันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีจนถึงปัจจุบัน
กองส่งเสริมเทคโนโลยี (กส.) เป็นหน่วยงานระดับกอง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมและการพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ ศท. ที่มีอยู่เดิม โดยในปีเดียวกันนี้จึงมีโครงการประดิษฐกรรมเพื่อพัฒนาชนบทขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปใช้ในการผลิตทางการ เกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในชนบท และโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยร่วมกับธนาคารกรุงเทพ เป็นโครงการที่กระต้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประดิษฐ์คิดค้นทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคคลที่มีความสามารถในด้านการประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องจักร หรือส่วนประกอบ/อุปกรณ์ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมการเกษตร และดำเนินการผลักดันสิ่งประดิษฐ์ไปสู่เชิงพาณิชย์ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นโครงการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์
ต่อมาในปี พ.ศ.2539 มีการศึกษา การรวม กส. และ ศท. เป็นสำนักส่งเสริมและถ่ายทอเทคโนโลยี(สส.) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงได้มีการประสานงานหน่วยงานในสังกัดเพื่อจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีใน รูปแบบต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีของกระทรวง และการจัดแสดงนิทรรศการ ทำให้การดำเนินงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีรูปแบบชัดเจน และเป็นเอกภาพมากขึ้น และเป็นหน่วยงานหลักในการนำเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไปเผยแพร่ และถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ อาทิ เอกสารเผยแพร่ วีดีทัศน์ การฝึกอบรม นิทรรศการ เป็นต้น และในปีเดียวกันนี้ สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี(สส.) ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีแห่งชาติระยะ 10 ปี (พ.ศ.2540-2549) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ในปี พ.ศ.2540 สส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมด้วยการสนับสนุนสถาบันการ ศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการร่วมมือในการ พัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและมีการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อ ไป ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านเทคโนโลยีในเครือข่ายด้วยกัน ในช่วงแรกสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาได้เพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือในขณะนั้นเรียกว่า ศูนย์ภูมิภาค 4 แห่ง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นที่มาของโครงการคลินิกเทคโนโลยี ในปี พ.ศ.2545 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
และในปี พ.ศ. 2543 สส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการจัดงานเทิอดพระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยี ของไทยและงานวันเทคโนโลยีของไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้า
เทคโนโลยีของหน่วยงานในทุกภาคส่วนเชิงบูรณาการ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาภาคเอกชน และสมาคมองค์กรที่เกี่ยวข้องและเป็นเวทีการซื้อขายเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เห็นชอบให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานเทิด พระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและจัดงานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ ไทย ขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยจัดแสดงผลงานพระอัจฉริยะภาพด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคิดค้นพัฒนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยโดยเฉพาะ เทคโนโลยีฝนหลวงซึ่งเป็นต้นกำเนิด การทำฝนเทียม นอกจากนี้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย เป็นเวทีแสดงผลงานการวิจัยและพัฒนาที่ประสบความสำเร็จภายใต้การดำเนินงาน ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งผลงานจากภาครัฐ ภาคเอกชนไทย สถาบันการศึกษา องค์กรและสมาคมต่างๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการและมีโครงการที่ สส.ไดรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ได้แก่
1) คลินิกเทคโนโลยี เป็นกลไกความร่วมมือในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษา ถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน OTOP และผู้ประกอบการ SMEs มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีไปสู่กลุ่มเป้า หมายนำผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีความพร้อมไปสนับสนุนกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ ในท้องถิ่น/จังหวัดวิจัยและพัฒนาต่อยอดและขยายผลไปสู่การประยุกต์ใช้ตามความ ต้องการของผู้ใช้ เพื่อผลักดันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมและ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
2) อาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ อสวท. เป็นแนวคิดของผู้บริหารกระทรวงโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการอุดหนุนการดำเนินงานของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยและสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็น โครงการที่สร้างอาสาสมัครให้ทำหน้าที่ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแพร่ กระจายในภูมิภาคต่างๆ โครงการอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นโครงการที่สร้าง พัฒนาและสรรหาบุคลากร เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไป แพร่กระจายสู่ชุมชนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการประกอบอาชีพและเป็นสะพานในการนำความต้องการของชุมชนมาสู่คลินิก เทคโนโลยี
ในปี พ.ศ. 2546 สส.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศโดย มีการพิจารณาคัดเลือกสรรเทคโนโลยีอย่างมีเหตุผล เพื่อเป็นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ในการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการบริการ โดยใช้วิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากที่สุด และใช้ต้นทุนต่ำ ได้แก่ กิจการฝึกอบรม/การสัมนา/การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้รับความรู้ตลอดจนได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรงทำให้สามารถนำไปพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาาาาาพและประสิทธิผล ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและยังนำไปสู่การสร้างพันธมิตรความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนอีกด้วย รวมทั้งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพการผลิตของภาคการผลิตและอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพกำลังคนให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมต่อไป และโครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรในกระบวนการผลิตด้วยวิศวกรรมย้อนรอย เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้มีการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งมีราคาเป็นที่ยอมรับและถูกกว่าการนำเข้า โดยวิธีวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) ขึ้นภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ซึ่งหลายๆ ประเทศได้นำไปใช้ และประสบผลสำเร็จมาแล้ว โดยมีรูปแบบการทำงานเป็นทีม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสถาบันวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างเครื่องจักรตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักร และการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีวิศวกรรมย้อนรอย ให้แก่บุคลากรไทยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ปัจจุบันได้ปรับเป็นโครงการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
ในปี พ.ศ. 2552 สส.ได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกลไกที่ผลักดันให้มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับชุมชนอย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยใช้หมู่บ้านเทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นแบบและนำร่องในการดำเนินงาน และเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา (คลินิคเทคโนโลยีเครือข่าย) และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2554 ถึง 2556 สส. มีภารกิจดำเนินกิจกรรม/โครงการเพิ่มขึ้น ได้แก่