ศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารและบริการ ของ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายกลางที่ออกมารองรับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐของประชาชน โดยกำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ 3 ช่องทาง คือ การลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7) การจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู (มาตรา 9) และการจัดหาให้เป็นการเฉพาะรายเมื่อได้รับคำร้องขอ (มาตรา 11)
นับตั้งแต่วันที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระราชกรณีกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกระทำมาอย่างสม่ำเสมอ คือ การทรงหาแนวทางในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนชาวไทย โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือนราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงรับทราบปัญหาความทุกข์ยากของราษฎร และทรงพระวิริยะอุตสาหะที่จะพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยพระราชกรณียกิจต้านต่างๆ ได้ก่อเกิดเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกว่า ๑,๐๐๐ โครงการทั่วประเทศ ชาวไทยทุกสาขาอาชีพจึงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเป็นแบบอย่างสูงสุดในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
หากเราศึกษาเรียนรู้การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ลึกซึ้งแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าพระองค์ทรงนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศเกือบทุกด้าน ซึ่งพระอัฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากมายหลายด้านเหลือคณานับ ทั้งเรื่อง ดิน น้ำ ภูมิอากาศ เครื่องจักร การสื่อสาร พลังงาน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดำรงพระองค์เป็นตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทยด้วยการ
(๑) ในทางวิชาการ ทรงติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และทรงนำความรู้ทางวิชาการดังกล่าว มาทดลองยืนยันกับสภาพแวดล้อมของไทยด้วยพระองค์เอง
(๒) ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงงานทุกเรื่อง โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นจากทรงสังเกตสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินและทรงนำมาตั้งสมมุติฐาน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ผล เพื่อที่จะพระราชทานแนวทางในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา ทำตันแบบ ทดลองตลาด และแก้ไขดัดแปลง โดยเมื่อดำเนินการเป็นที่ได้ผลแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปเผยแพร่แก่ราษฎร ส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป โดยทรงเน้นให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและศาสตร์ต่างๆ การรวมกลุ่มของชาวบ้าน และการเชื่อมโยงตั้งแต่ผู้ผลิตถึงตลาดอย่างครบวงจร
(๓) ในทางการติดตามผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับขั้นตอนการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นอย่างมากโดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ดำเนินการเมื่อมีโอกาส เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าและพระราชทานแนวทางในการแก้ปัญหาให้งานเป็นไปตามพระราชประสงค์
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศขาดแคลนและต้องการ คือ ความรู้ในการหากินและพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงทรงเน้นถึงการสร้างตัวอย่างความสำเร็จจากการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีพระราชดำริให้ จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในทุกภูมิภาค เพื่อเป็นสถานีวิจัยและพัฒนา และเผยแพร่วิทยาการสู่ประชาชน โดยเนันการช่วยเหลือตนเอง ความประหยัด และความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ดังพระบรมราโชวาท ว่า
"...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่าง ๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัด และการทุ่นแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเรา ประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัว ด้วยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศ ย่อมจะมีปัญหา เช่น อาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ หรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้น เป็นตัน ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกล และกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน...."
(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันเสาร์ ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๓)
ข้อมูลจาก : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
ข้อมูลข่าวสาร สมาชิก กบข. เช่น สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ การลงทุน ข่าวประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมัลติมีเดีย สื่อโฆษณา เป็นต้น
บัญชีข้อมูลรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การจัดทำคำอธิบายและคำแปลของกฎหมาย และการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์ สำหรับกฎหมายที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้รักษาการ
คลิกดาวน์โหลด บัญชีข้อมูลรายชื่อกฏหมาย
ประกาศ (ร่าง) พระราชบัญญัติ , กฏกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับหลักสูตร
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
กฎกระทรวงที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษา ผ่าน ครม.
กรข. โดย กลุ่มแผนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (ผส.กรข.) ตระหนักถึงความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิชาการ และที่สำคัญได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการฝึกอบรมและการสร้างความตระหนัก เพื่อให้สาระความรู้มีความทันสมัยและสะท้อนวิวัฒนาการขององค์ความรู้ในด้านต่างๆ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ เพิ่มพูนทักษะทางวิชาการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติใช้ในหน้าที่การงานโดยตรง
IT Applications ระบบงานสารสนเทศสำนักงาน เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของบุคคลากรภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Financial System ระบบสารสนเทศทางงบประมาณ การเงิน การคลัง พัสดุ และการจัดซื้อจัดจ้าง
Personal System ระบบสารสนเทศด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
Direction Systems ระบบสารสนเทศการอำนวยการ
Executive System ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
Publicity System ระบบสารสนเทศงานประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
KM System ระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้
Clinic Technology System ระบบสารสนเทศคลินิกเทคโนโลยี
ชื่อโครงการ/กิจกรรม เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
รับผิดชอบโดยกลุ่มงาน พัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
สำนัก ประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา
สรุปความเป็นมาโดยย่อ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่กำหนดให้รัฐอุดหนุนและส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านต่างๆ โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณผ่านกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังในวงเงินจำนวน 1,120 ล้านบาท เพื่อสร้างเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพโดยเงินทุนหมุนเวียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้เงินเป็นส่วนสมทบ ในการก่อสร้างอาคารเรียน จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา และการพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ด้วยการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและหรือปริญญาเอกในต่างประเทศในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 - 2.00 ต่อปี
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้อนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมเงินจำนวน 15 สถาบัน 24 สัญญา โดยเป็นการกู้เพื่อสมทบในการจัดซื้ออุปกรณ์และก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน 816,852,447.92 บาท และกู้เพื่อเป็นส่วนสมทบในการพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ จำนวน 161,871,686.68 บาท รวมทั้งสิ้น จำนวน 978,724,134.60 บาท
สัดส่วนการปล่อยกู้เงินตามวัตถุประสงค์ของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
รายงานผลการรับ – จ่าย
คำถามที่มักจะมีผู้สอบถามเข้ามาบ่อยๆ ทางทีมงานจึงได้จัดรวบรวมคำถามเหล่านั้น และหาคำตอบไว้รอ เพื่อให้ผู้รับบริการหรือผู้สอบถามเข้ามา สามารถหาคำตอบในที่นี้ได้ด้วยตัวเอง